วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

บทความ เรื่อง พลาสมา (Plasma)



พลาสมา  (Plasma)

               พลาสมา คือ อะไร ????
               ในบทความนี้จะพูดถึงพาสมาในทางฟิสิกส์
              พลาสมาในทางฟิสิกส์ พลาสมามักจะถือเป็นสถานะหนึ่งของสสาร  ซึ่งสสารที่รู้จักกันมีอยู่ 3 สถานะ ได้แก่ ของแข็ง ของเหลวและก๊าซ ดังนี้
              ของแข็ง (Solid) คือ สถานะของสสารที่มีอนุภาคอยู่ชิดกัน มีช่องว่างระหว่างอนุภาคน้อย อนุภาค ของสสารจึงเคลื่อนไหวได้ยาก สสารมีรูปร่างคงที่เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ยาก
 ของเหลว (Liquid) คือ สถานะของสสารที่มีอนุภาคอยู่กันอย่างหลวมๆ อนุภาคของสสารเคลื่อนไหวได้ง่ายขึ้น สสารมีรูปร่างไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงไปตามภาชนะที่บรรจุ
   ก๊าซ (Gas) คือ สถานะของสสารที่มีอนุภาคอยู่ห่างกัน มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างกันน้อยมาก ทำให้อนุภาคเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ สสารมีรูปร่างไม่แน่นอน เมื่อสสารอยู่ในภาชนะใดอนุภาคของสสารจะฟุ้งกระจายเต็มภาชนะสสารที่มีสถานะเป็นก๊าซ
สถานะที่ 4 ของสสารนี้ มีการเอ่ยถึงครั้งแรก โดยเซอร์ วิลเลียม ครูกส์ (Sir William Crookes) เมื่อค.ศ. 1879 และในปี ค.ศ.1928 นั้น เออร์วิง แลงเมียร์ (Irving Langmuir) คิดคำว่าพลาสมา (plasma) ขึ้นมาแทนสถานะของสสารนี้เนื่องจากเขานึกถึงพลาสมาของเลือด

 พลาสมา (Plasma) พลาสมาอนุภาค ที่มีประจุทั้งประจุบวกและลบในจำนวนเท่าๆกัน พลาสมาเป็นก๊าซที่นำไฟฟ้าได้ และทำให้ร้อนได้เร็วมากพลาสมาเกิดจากการทำให้ก๊าซร้อนขึ้นที่อุณหภูมิ 24,000 องศาเซลเซียส ที่อุณหภูมิ ณ จุดนี้ ก๊าซจะแตกตัวและทำให้เกิดประจุไฟฟ้าขึ้น 

          พลาสมาที่เห็นได้ในธรรมชาติ

           ปรากฏการณ์แสงเหนือ(Aurora borealis) และแสงใต้ (Aurora australis)

         
 แสงเหนือ(Aurora borealis) และแสงใต้ (Aurora australis)


               ชีวิตดำรงอยู่ได้ด้วยพลังงานจากก้อนพลาสมายักษ์ที่เรียกว่าดวงอาทิตย์ที่ผลิตรังสีคอสมิคซึ่งมีส่วนทำให้เกิดการกลายพันธ์ในธรรมชาติ


ภาพถ่ายจากดาวเทียม SOHO แสดงให้เห็นการพวยพุ่งของพลาสมาบนผิวดวงอาทิตย์ 
ซึ่งตรงแกนกลางมีอุณหภูมิสูงถึง 20 ล้านเซลเซียส
(http://thep-center.org/src/cluster2.php)
  

                ประโยชน์ของพลาสมา
                ปัจจุบันพลาสมาได้นำมาใช้ประโยชน์มากมายในชีวิตประจำวัน ดังต่อไปนี้
          -       พลาสมาฆ่าเชื้อในอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น เสื้อกาวน์ผ่าตัด , ถุงมือ , เข็ม, ไหม ,
ไตเทียม ฯลฯ 
         -        เลเซอร์พลาสมา  ใช้ตัดชิ้นส่วนโลหะที่ต้องการได้ในทางอุตสาหกรรม
         -        พลาสมาในหลอดไฟฟลูออร์เรสเซนต์ 
         -        พลาสมาTV 
            ที่กล่าวมานี้ คือ ตัวอย่างเพียงส่วนน้อยของการนำอนุภาคพลาสมามาใช้ประโยชน์ เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตและความก้าวหน้าของมนุษย์

                แบบจำลองพลาสมา
                แบบจำลองของพลาสมา  ที่รู้จักในชื่อว่า  " Plasma  Ball " เป็นลูกแก้วทรงกลมกลวง  
ภายในบรรจุแก๊ซบางชนิดที่มีความดันต่ำ   ด้านล่างมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแรงสูงหลายหมื่นโวลต์ จะมีการเคลื่อนย้ายถ่ายประจุไฟฟ้าระหว่างขั้วไฟฟ้าแรงสูงกับอากาศภายนอก  โดยที่ประจุไฟฟ้าจะวิ่งชนก๊าซที่อยู่ภายในลูกแก้วเกิดการแตกตัวเป็นพลาสมา  และเปล่งแสงสีต่างๆออกมาตามธรรมชาติเฉพาะตัวของก๊าซนั้นๆโดยมีทิศทางไม่แน่นอนเป็นแบบสุ่ม


               Plasma  Ball 


อ้างอิง





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น