วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

บทความ เรื่อง แสงหิงห้อยที่หายไป

                หิงห้อย เป็นแมลงที่มีคุณสมบัติพิเศษ คือ  สามารถบ่งบอกความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ ในอดีตจะมีหิงห้อยมากมายมองเห็นได้ชัดในคืนเดือนมืด  แต่สมัยนี้หิงห้อยได้เลือนหายไปแล้ว แสดงให้เห็นว่าความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติได้หายไปเช่นกัน


                รูปร่างลักษณะของหิงห้อย



ภาพจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/ หิ่งห้อย#/media/File:Lampyris_noctiluca.jpg


       หิงห้อยเป็นแมลงปีกแข็ง ตัวเต็มวัยเพศผู้มีปีก ส่วนเพศเมียมีทั้งมีปีกและไม่มีปีก บางชนิดมีปีกสั้นมาก (Brachypterous) ชนิดที่ไม่มีปีกรูปร่างลักษณะคล้ายตัวตัวหนอน  หนอนของหิ่งห้อยเป็นตัวห้ำกินหอยฝาเดียว ไส้เดือน  กิ้งกือ และแมลงตัวเล็กๆเป็นอาหาร หิ่งห้อยมีลักษณะเด่น คือสามารถทำแสงได้ทั้งระยะหนอนดักแด้ แลตัวเต็มวัย ส่วนระยะไข่ทำแสงได้เฉพาะบางชนิดเท่านั้น

ทำไมหิงห้อยจึงมีแสง
               หิ่งห้อยมีแสงในตัวเพราะมีสารพิเศษ แสงของหิ่งห้อยเกิดจากปฏิกิริยาทางเคมีของสาร Luciferin ซึ่งอยู่ในอวัยวะทำแสง ทำปฏิกิริยาโดยใช้หลอดลม มีเอนไซม์ Luciferase เป็นตัวกระตุ้นและมีสาร Andenosine triphosphate (ATP) เป็นตัวให้พลังงาน สำหรับเรื่องความสวนงามของการกระพริบแสงตัวผู้จะสวยกว่าเพราะต้องล่อตัวเมียมาผสมพันธุ์ 
  
ทำไมแสงหิ่งห้อยจึงกะพริบ
              เมื่อหิ่งห้อยหนุ่มพบหิ่งห้อยสาวที่หมายปอง มันก็จะกระพริบแสงเป็นจังหวะของมัน ถ้าหิ่งห้อยสาวพอใจก็จะกระพริบตอบด้วยจังหวะเดียวกัน จากนั้นทั้งสองก็ผสมพันธ์ เมื่อหิ่งห้อยสาวตั้งท้องและวางไข่มันก็จะตายจากไปแสงของหิ่งห้อยเกิดจากสาร เรืองแสงในตัวของมัน ซึ่งเปล่งออกมาบริเวณปลายปล้องท้อง และในอดีตคนเรายังใช้แสงหิ่งห้อยเป็นเครื่องนำทางสร้างความสวยงามให้กับธรรมชาติในยามค่ำคืน


ภาพจาก : http://topicstock.pantip.com/camera/topicstock/2011/08/O10887813/O10887813-0.jpg


วงจรชีวิตของหิงห้อย   
วงจรชีวิตแสนสั้น แบ่งออกเป็น 4 ระยะดังนี้
        1. เมื่อผสมพันธุ์กันแล้ว หิ่งห้อยตัวเมียจะวางไข่บนพื้นดิน กิ่งไม้ หรือใบหญ้า เป็นจำนวนหลายร้อยฟอง ตั้งแต่ช่วงเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม ใช้ระยะเวลาประมาณ 1-4 สัปดาห์จึง ฟักเป็นตัวหนอน หลังจากนั้น หิ่งห้อยตัวเมียจะไม่ย้อนกลับมาดูไข่ของมันอีกเลย
    2. หนอนหิ่งห้อยจะอยู่ในร่างหนอน ประมาณ 6-12 เดือน นับเป็นช่วงเวลาที่นานที่สุดในชีวิตหิ่งห้อย
          3. หนอนหิ่งห้อยจึงเปลี่ยนเป็นดักแด้และฝังตัวอยู่ใต้ดิน รอจนกว่าจะมีปีกงอกออกมา ใช้ระยะเวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์
          4. หิ่งห้อยโตเต็มวัย จะไม่กินอาหารใด ๆ เลยนอกจากน้ำค้างบนใบหญ้า ใช้ระยะเวลาประมาณ 1 เดือนก่อนจะตายไป



ภาพจากhttp://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=74552


หิงห้อยในสมัยนี้คงหาได้ยากแล้ว เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติได้หายไปเรื่อยๆ ตามพื้นที่ชนบทต่างๆ  อาจจะได้เห็นหิงห้อยได้บ้าง  แต่ก็น้อยลงที่ที ถ้าให้นึกถึงความหลังยังเด็กตามชนบท ตอนกลางคืนเดือนมืดคงเห็นหิงห้อยที่บินไปมาเต็มไปหมด  บรรยากาศที่ลมพัดเย็นๆ เต็มไปด้วยความผ่อนคลายจะเลื่อนหายไปในความทรงจำของใครหลายคน มันเป็นความทรงจำที่ดี และมันจะเป็นไปได้ที่ได้ชมบรรยากาศเหล่านี้อีก  หากเราช่วยกันรักษาธรรมชาติให้คงอยู่ไว้ได้

ภาพจาก :  http://hilight.kapook.com/view/65168


อ้างอิง


บทความ เรื่อง โหระพา

           โหระพาผักสวนครัวที่คนไทยคุ้นเคยกันดี นำใบโหระพามาปรุงอาหารสำหรับคนไทยได้หลากหลายอย่าง เราจะมารู้จักกับโหระพากันเลย

            ลักษณะของต้นโหระพา

ภาพจาก  :  http://heatherhomemade.com/wp-content/uploads/2011/09/Basil-Beef-4.jpg

โหระพา  เป็นไม้ล้มลุก สูง 0.5-1 เมตร ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยมมีกิ่งอ่อนสีม่วงแดง ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้าม รูปไข่หรือรูปรีกว้าง 3 - 4 เซนติเมตร ยาว 4 - 6 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนมน ขอบจักเป็นฟันเลื่อยห่างๆ ดอกสีขาวหรือชมพูอ่อน ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งยาว 7 - 12 เซนติเมตร ใบประดับสีเขียวอมม่วงจะคงอยู่เมื่อเป็นผล

วิธีการปลูกต้นโหระพา
ควรกระทำในตอนเย็น วิธีการปลูกที่นิยมมี 2 วิธีด้วยกัน คือ
การเพาะกล้าย้ายปลูก โดยการหว่านเมล็ดให้กระจายทั่วแปลงแล้วใช้แกลบสด แกลบเผาหรือฟาง หว่านหรือคลุมบางๆ แล้วรดน้ำตามทันที หลังจากนั้น รดน้ำทุกวันเช้าและเย็น จนกระทั่งเมื่ออายุได้ 20-25 วัน จึงทำการย้ายปลูก โดยการถอนกล้าแล้วเด็ดยอดนำไปปลูกในแปลง โดยใช้ระยะปลูก 20×20 เซนติเมตร เมื่อถอนกล้าออกจากแปลงแล้วจะต้องปลูกให้เสร็จภายในวันเดียวกัน หลังจากปลูกเสร็จควรหาฟางหรือหญ้าแห้งมาคลุมเพื่อเก็บความชื้นและรดน้ำตามทันที
การปักชำ โดยตัดกิ่งที่โตเต็มที่ยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร แล้วปลิดใบออกให้หมดนำไปปักชำในแปลง ใช้หญ้าแห้งหรือฟางแห้งสะอาดคลุมให้ทั่วแปลง และรดน้ำตามทันที ( การปักชำจะเหมาะแก่การปลูกเป็นผักสวนครัว  ตามบ้านเรือนต่างๆ )

การปฏิบัติดูแลรักษาโหระพา   :      การดูแลต้นโหระพาตามบ้านเรือน
โหระพาเป็นพืชที่ต้องการความชื้นสูงและสม่ำเสมอ ดังนั้นจึงควรมีการรดน้ำให้ทุกวัน แต่ระวังอย่าปล่อยให้มีการท่วมขังของน้ำในแปลง ในระยะแรกควรทำการพรวนดินและกำจัดพืชทุกๆ 1-2 สัปดาห์ โดยการใช้มือถอนจอบหรือเสียมดายหญ้าออกและควรทำด้วยความระมัดระวังอย่าให้กระทบต่อต้นและราก และ  โหรระพาเป็นพืชที่ดูแลรักษาง่ายเนื่องจากไม่ค่อยมีแมลงกัดกิน

ประโยชน์ของใบโหระพา
                นอกจากโหระพาเป็นพืชสวนครัวแล้ว  โหระพายังมีประโยชน์เป็นสมุนไพรได้อีกด้วย
                1. แก้ไข้ ปวดศีรษะ ขับเหงื่อ ขับลม ขับเสมหะ ขับพยาธิ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเสีย ช่วยเจริญอาหาร โดยใช้ยอดอ่อนต้มกับน้ำรับประทานเป็นชาหรือรับประทานเป็นผักสด
                2. ใช้เป็นยาขับปัสสาวะและยาระบายอ่อน ๆ เพื่อแก้อาการท้องผูก โดยนำเมล็ดแก่แช่น้ำให้พองตัวเต็มที่รับประทานกับขนมหวานโดยผสมกับน้ำหวานและน้ำแข็ง
                3. ใช้รักษาอาการเหงือกอักเสบเป็นหนอง โดยบดใบโหระพาแห้งให้เป็นผงทาบริเวณที่เป็น
                4. บรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน โดยคั้นน้ำจากใบโหระพาสด ประมาณ 1ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำอ้อย 2ช้อน รับประทานวันละ 2 ครั้ง พร้อมกับน้ำอุ่น
                5. แก้สะอึก โดยใช้ใบโหระพาสดหรือแห้งพร้อมขิงสดแช่ในน้ำเดือดรับประทานในขณะที่น้ำยังร้อน
                6. น้ำมันโหระพาสามารถฆ่ายุงและแมลงได้
                7. เมล็ดแก่แช่น้ำใช้พอกแผลบรรเทาอาการฟกช้ำ
ภาพจาก : http://www.happyhospital.org/autopagev4/spaw2/uploads/images/horapa.jpg

   น้ำมันโหระพา
                น้ำมันโหระพา เป็นน้ำมันหอมระเหยที่พบในใบโหระพามีร้อยละ 1.5 องค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญ คือ Methylcha vicol และสกัดได้จากใบโหระพาพันธุ์ไทย โดยการกลั่นด้วยไอน้ำ เป็นของเหลวใสสีเหลืองอ่อน หรือเหลืองอมน้ำตาลปราศจากตะกอนและสารแขวนลอย ไม่มีการแยกชั้นของน้ำ มีกลิ่นเฉพาะตัว มีคุณสมบัติแก้จุกเสียดแน่นท้อง
                น้ำมันหอมระเหยช่วยการย่อยอาหารเนื้อสัตว์ ช่วยคลายการหดเกร็งของกล้ามเนื้อและช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย จึงช่วยให้สบายท้องขึ้น มีกลิ่นหอมหวาน มีคุณสมบัติช่วยให้สงบ มีสมาธิ ลดอาการซึมเศร้า ข้อควรระวังในการใช้คือ ทำให้เกิดอาการแพ้ง่าย สตรีมีครรภ์ควรหลีกเลี่ยง


ภาพจาก :  http://www.siamhealthandbeauty.com/images/VersatileOil.jpg



อ้างอิง





วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

แบบฝึกหัด บทที่ 8 การใช้สารสนเทศตามกฎหมายและจริยธรรม

บทที่ 8
การใช้สารสนเทศตามกฎหมายและจริยธรรม

แบบฝึกหัด

                                                                                                  กลุ่มที่เรียน  4
รายวิชา    การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                                   รหัสวิชา 0026008
ชื่อ –สกุล  นางสาวณัฐวิภา   ลองจำนงค์                                                               รหัส 56010215008

คำชี้แจง จงพิจารณากรณีศึกษานี้
1) “นาย A ทำการเขียนโปรแกรมขึ้นมาโปรแกรมหนึ่งเพื่อทดลองโจมตีการทำงานของคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานได้ โดยทำการระบุ IP-Address โปรแกรมนี้สร้างขึ้นมาเพื่อทดลองในงานวิจัย นาย B ที่ เป็นเพื่อนสนิทของนาย A ได้นำโปรแกรมนี้ไปทดลองใช้แกล้งนางสาว C เมื่อนางสาว C ทราบเข้าก็เลยนำโปรแกรมนี้ไปใช้และส่งต่อให้เพื่อนๆ ที่รู้จักได้ทดลอง” การกระทำอย่างนี้ ผิดจริยธรรม หรือผิดกฎหมาย ใดๆ หรือไม่ หากไม่ผิดเพราะเหตุใด และหากผิด ผิดในแง่ไหน จงอธิบาย 
ตอบ    ผิด เพราะ โปรมแกรมนี้ใช้งานในการวิจัยเท่านั้น นาย B นำงานวิจัยของนาย A มาใช้งานเป็นการขโมยทรัพย์สินทางปัญญา และนำมาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตเนื่องจากเป็นแค่งานวิจัยด้วย  ส่วนนางสาว C
มีความผิดเนื่องจากนำโปรแกรมไปเผยแพร่อีกซึ่งจะทำให้ นาย และ นางสาว ผิดกฎหมายและผิดจริยธรรม

2) “นาย J ได้ทำการสร้างโฮมเพจ เพื่อบอกว่าโลกแบนโดยมีหลักฐาน อ้างอิงจากตำราต่างๆ อีกทั้ง รูปประกอบ เป็นการทำเพื่อความสนุกสนาน ไม่ได้ใช้ในการอ้างอิงทางวิชาการใดๆ เด็กชาย K เป็นนักเรียน ในระดับประถมปลายที่ทำรายงานส่งครูเป็นการบ้านภาคฤดูร้อนโดยใช้ข้อมูลจากโฮมเพจของนาย J” การ กระทำอย่างนี้ ผิดจริยธรรม หรือผิดกฎหมายใดๆ หรือไม่ หากไม่ผิดเพราะเหตุใด และหากผิด ผิดในแง่ไหน จงอธิบาย
 
ตอบ    นาย J ผิด เพราะ นำข้อมูลที่ไม่แท้จริงหลอกลวงคนอื่นไปเผยแพร่ในอินเตอร์เน็ตซึ่งเป็นข้อมูลที่เข้าถึงง่าย  จะทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น เป็นการผิดกฎหมายและผิดจริยธรรม

แบบฝึกหัด บทที่ 7 ความปลอดภัยของสารสนเทศ

บทที่  7
ความปลอดภัยของสารสนเทศ

แบบฝึกหัด

                                                                                                                             กลุ่มที่เรียน  4
             รายวิชา   การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                       รหัสวิชา 0026008
             ชื่อ –สกุล  นางสาวณัฐวิภา   ลองจำนงค์                                                 รหัส 56010215008

คำชี้แจง จงตอบคำถามต่อไปนี้

1. 
หน้าที่ของไฟร์วอลล์ (Firewall) คือ
 ตอบ ไฟร์วอลล์ เป็นเครื่องมือรักษาความปลอดภัยให้กับเครือข่ายภายใน (Internet) โดยป้องกันผู้บุกรุก ที่มาจากเครือข่ายภายนอก หรือเป็นการกำหนดนโยบายการควบคุมการเข้าถึงระหว่างเครือข่ายสองเครือข่าย โดยสามารถกระทำได้โดยวิธีแตกต่างกันไป แล้วแต่ระบบ

2. จงอธิบายคำศัพท์ต่อไปนี้ ที่เกี่ยวข้องกับไวรัสคอมพิวเตอร์ worm , virus computer, spy ware, adware มาอย่างน้อย 1 โปรแกรม
  ตอบ  - Worm (หนอนอินเตอร์เน็ต) เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่นเดียวกับโปรแกรมไวรัส แต่แพร่กระจายผ่านเครือข่ายไปยังคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครื่องอื่น ๆ ที่ต่ออยู่บนเครือข่ายด้วยกัน ลักษณะการแพร่กระจายคล้ายตัวหนอนที่เจาะไชไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ แพร่พันธุ์ด้วยการคัดลอกตัวเองออกเป็นหลาย ๆ โปรแกรม และส่งต่อผ่านเครือข่ายออกไป และสามารถแพร่กระจายผ่านทางอีเมล์ได้ ไม่ว่าจะเป็น Outlook Express หรือ Microsoft Outlook เช่น เมื่อมีผู้ส่งอีเมล์และแนบโปรแกรมติดมาด้วย ในส่วนของ Attach file ผู้ใช้สามารถคลิ๊กดูได้ทันที การคลิ๊กเท่ากับเป็นการเรียกโปรแกรมที่ส่งมาให้ทำงาน ถ้าสิ่งที่คลิ๊กเป็นเวิร์ม เวิร์มก็จะแอกทีฟ และเริ่มทำงานทันที โดยจะคัดลอกตัวเองและส่งจดหมายเป็นอีเมล์ไปให้ผู้อื่นอีก               
         - spyware หมายถึง ประเภทซอฟแวร์ที่ออกแบบเพื่อสังเกตการณ์หรือดักจับข้อมูล หรือควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยที่ผู้ใช้ไม่รับทราบว่าได้ติดตั้งเอาไว้ หรือผู้ใช้ไม่ยอมรับ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเพื่อสร้างผลประโยชน์แก่ผู้อื่น
        ในความหมายทั่วไป สปายแวร์ คือ ประเภทโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่บันทึกการกระทำของผู้ใช้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ และส่งผ่านอินเตอร์เน็ตโดยที่ผู้ใช้ไม่ได้รับทราบ โปรแกรมแอบดักข้อมูลนั้นสามารถรวบรวมข้อมูล สถิติการใช้งานจากผู้ใช้ได้หลายอย่างขึ้นอยู่กับการออกแบบของโปรแกรม ซึ่งส่วนใหญ่แล้วบันทึกเว็บไซต์ที่ผู้ใช้เข้าถึง และส่งไปยังบริษัทโฆษณาต่างๆ บางโปรแกรมอาจบันทึกว่าผู้ใช้พิมพ์อะไรบ้าง เพื่อพยายามค้นหารหัสผ่าน หรือเลขหมายบัตรเครดิต
3. ไวรัสคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง 
     ตอบ
     - บูตเซกเตอร์ไวรัส (boot sector virus) คือไวรัสคอมพิวเตอร์ที่แพร่เข้าสู่เป้าหมายในระหว่างเริ่มทำการบูตเครื่อง   ส่วนมาก มันจะติดต่อเข้าสู่แผ่นฟลอปปี้ดิสก์ระหว่างกำลังสั่งปิดเครื่อง เมื่อนำแผ่นที่ติดไวรัสนี้ไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ไวรัสก็จะเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ตอนเริ่มทำงานทันที
       บูตไวรัสจะติดต่อเข้าไปอยู่ส่วนหัวสุดของฮาร์ดดิสก์ ที่มาสเตอร์บูตเรคคอร์ด (master boot record) และก็จะโหลดตัวเองเข้าไปสู่หน่วยความจำก่อนที่ระบบปฏิบัติการจะเริ่มทำงาน ทำให้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
     -ไฟล์ไวรัส (file virus) ใช้เรียกไวรัสที่มีการแทรกตามไฟล์ที่นำมาให้บันทึกสู่คอมพิวเตอร์ของผู้ใช้
หนอน
     - หนอน (Worm) เป็นรูปแบบหนึ่งของไวรัส มีความสามารถในการทำลายระบบในเครื่องคอมพิวเตอร์สูงที่สุดในบรรดาไวรัสทั้ง หมด สามารถกระจายตัวได้รวดเร็ว ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งสาเหตุที่เรียกว่าหนอนนั้น คงจะเป็นลักษณะของการกระจายและทำลาย ที่คล้ายกับหนอนกินผลไม้ ที่สามารถกระจายตัวได้มากมาย รวดเร็ว และเมื่อยิ่งเพิ่มจำนวนมากขึ้น ระดับการทำลายล้างยิ่งเพิ่มมากขึ้น
       - และอื่นๆ
         ม้าโทรจัน (Trojan horse) คือโปรแกรมจำพวกหนึ่งที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อแอบแฝง กระทำการบางอย่าง ในเครื่องของเรา จากผู้ที่ไม่หวังดี ชื่อเรียกของโปรแกรมจำพวกนี้ มาจากตำนานของม้าไม้แห่งเมืองทรอยนั่นเอง ซึ่งการติดนั้น ไม่เหมือนกับไวรัส และหนอน ที่จะกระจายตัวได้ด้วยตัวมันเอง แต่โทรจัน (คอมพิวเตอร์)จะถูกแนบมากับ อีการ์ด อีเมล หรือโปรแกรมที่มีให้ดาวน์โหลดตามอินเทอร์เน็ตในเว็บไซต์ใต้ดิน และสุดท้ายที่มันต่างกับไวรัสและเวิร์ม คือ มันจะสามารถเข้ามาในเครื่องของเรา โดยที่เราเป็นผู้รับมันมาโดยไม่รู้ตัวนั่นเอง
4. ให้นิสิตอธิบายแนวทางในการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์มาอย่างน้อย 5 ข้อ 
ตอบ 
1) 
ลงโปรแกรมป้องกัน ไวรัส และพยายาม update เพื่อป้องกัน ไวรัส ตัวใหม่ๆ 
2)  มีการเข้ารหัสข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์
3)  อย่าตั้งค่าให้โปรแกรมอีเมลเปิดไฟล์ที่แนบมาโดยอัตโนมัติ ควรจะต้องตรวจสอบก่อนดาวน์
4)  อย่าดาวน์โหลดโปรแกรมจากเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ เพราะอาจได้ไวรัสแถมมาด้วย แต่หากต้องการดาวน์โหลดจริงๆ ก็ให้สร้างโฟลเดอร์เฉพาะไว้ต่างหาก และสแกนหาไวรัสก่อนเปิดใช้งาน
5)  ตั้งค่าระบบป้องกันให้ทำงานทันทีที่เริ่มเปิดคอมพิวเตอร์ใช้งาน
 
5. มาตรการด้านจริยธรรมคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตที่เหมาะสมกับสังคมปัจจุบัน ได้แก่
                ตอบ       
1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น
                               2. ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
                               3. ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
                               4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร 
                               5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
                               6. ต้องมีจรรยาบรรณการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์
                               7. ให้ระมัดระวังในการละเมิดหรือสร้างความเสียหายให้ผู้อื่น
                               8. ให้แหล่งที่มาของข้อความ ควรอ้างอิงแหล่งข่าวได้
                               9. ไม่กระทำการรบกวนผู้อื่นด้วยการโฆษณาเกินความจำเป็น
                              10. ดูแลและแก้ไขหากตกเป็นเหยื่อจากโปรแกรมอันไม่พึงประสงค์ เพื่อป้องกันมิให้คนอื่นเป็นเหยื่อ

วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

แบบฝึกหัด บทที่ 6 การประยุกต์ใช้สารสนเทศในชีวิตประจำวัน

บทที่  6
การประยุกต์ใช้สารสนเทศในชีวิตประจำวัน

แบบฝึกหัด

                                                                                                                             กลุ่มที่เรียน  4
             รายวิชา   การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                       รหัสวิชา 0026008
             ชื่อ –สกุล  นางสาวณัฐวิภา   ลองจำนงค์                                                 รหัส 56010215008

คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว
1. การประยุกต์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ เป็นความหมายของข้อใด?
    ตอบ  2. เทคโนโลยี
   
2. เทคโนโลยีสารสนเทศใดก่อให้เกิดผลด้านการเสริมสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม?
   ตอบ    2. ระบบการเรียนการสอนทางไกล

3. การฝากถอนเงินผ่านเอทีเอ็ม (ATM) เป็นลักษณะเด่นของเทคโนโลยีสารสนเทศข้อใด?
   ตอบ   1. ระบบอัตโนมัติ


4. ข้อใดคือการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ?
     ตอบ   4. ถูกทุกข้อ

5. เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึงข้อใด?
    ตอบ  1. การประยุกต์เอาความรู้มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์

6. เครื่องมือที่สำคัญในการในการจัดการสารสนเทศในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร?
     ตอบ  3. คอมพิวเตอร์

7. ข้อใดไม่ใช่บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ?
     ตอบ  4. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้มีการสร้างที่พักอาศัยที่มีคุณภาพ  


8. ข้อใดไม่ใช่อุปกรณ์ที่ช่วยงานด้านสารสนเทศ?
    ตอบ   3. เครื่องมินิคอมพิวเตอร์

9. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ เทคโนโลยีสารสนเทศ?
    ตอบ   3. ไม่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

10. ข้อใดคือประโยชน์ที่ได้จากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับการเรียน?
      ตอบ   4. ถูกทุกข้อ

วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

แบบฝึกหัด บทที่ 5 การจัดการสารสนเทศ

บทที่  5
การจัดการสารสนเทศ

แบบฝึกหัด

                                                                                                                               กลุ่มที่เรียน  4
             รายวิชา   การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                         รหัสวิชา 0026008
             ชื่อ –สกุล  นางสาวณัฐวิภา   ลองจำนงค์                                                    รหัส 56010215008

คำชี้แจง  จงตอบคำถามต่อไปนี้
1.       จงอธิบายความหมายของการจัดการสารสนเทศ
          ตอบ  การวางแผน ค้นหา รวบรวม จัดเก็บ รักษา และส่งต่อแพร่กระจายสารสนเทศไปยังผู้ใช้ เพื่อประโยชน์ในการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือ ทั้งนี้ เพื่อปรับปรุงพัฒนาสมรรถนะการบริหารงานและการดำเนินงานขององค์กร สร้างนวัตกรรม เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน และมุ่งสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

2.       การจัดการสารสนเทศมีความสำคัญต่อบุคคลและต่อองค์การอย่างไร
          ตอบ  1. ความสำคัญต่อบุคคล
      การจัดการสารสนเทศมีความสำคัญต่อบุคคลในด้านการดำรงชีวิตประจำวัน การศึกษา และการทำงานประกอบอาชีพ บุคคลจำเป็นต้องใช้สารสนเทศประกอบการทำงานทุกกระดับ  การจัดเก็บสารสนเทศ ช่วยส่งผลให้ความสามารถในการทำงาน เกิดความประสบความสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว
      2. ความสำคัญต่อองค์การ
                    การจัดการสารสนเทศมีความสำคัญต่อองค์การในด้านการบริหารจัดการ การดำเนินงาน และกฎหมาย ดังนี้
                    1) ความสำคัญด้านการบริหารจัดการ 
      2) ความสำคัญด้านการดำเนินงาน 
                    3) ความสำคัญด้านกฎหมาย 

3.       พัฒนาการของการจัดการสารสนเทศแบ่งออกเป็นกี่ยุค อะไรบ้าง
          ตอบ   พัฒนาการของการจัดการสารสนเทศเป็น 2 ยุค ดังนี้
                      1. การจัดการสารสนเทศด้วยระบบมือ
                       2. การจัดการสารสนเทศโดยใช้คอมพิวเตอร์

4.       จงยกตัวอย่างการจัดการสารสนเทศที่นิสิตใช้ในชีวิตประจำวันมา อย่างน้อย 3 ตัวอย่าง
          ตอบ      - ถอนเงินอัตโนมัติ หรือเอทีเอ็ม ( ATM)
                        - การใช้อินเตอร์เน็ตในการติดต่อสื่อสารต่างๆ
                        - การใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียน