วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

บทความ เรื่อง แสงหิงห้อยที่หายไป

                หิงห้อย เป็นแมลงที่มีคุณสมบัติพิเศษ คือ  สามารถบ่งบอกความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ ในอดีตจะมีหิงห้อยมากมายมองเห็นได้ชัดในคืนเดือนมืด  แต่สมัยนี้หิงห้อยได้เลือนหายไปแล้ว แสดงให้เห็นว่าความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติได้หายไปเช่นกัน


                รูปร่างลักษณะของหิงห้อย



ภาพจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/ หิ่งห้อย#/media/File:Lampyris_noctiluca.jpg


       หิงห้อยเป็นแมลงปีกแข็ง ตัวเต็มวัยเพศผู้มีปีก ส่วนเพศเมียมีทั้งมีปีกและไม่มีปีก บางชนิดมีปีกสั้นมาก (Brachypterous) ชนิดที่ไม่มีปีกรูปร่างลักษณะคล้ายตัวตัวหนอน  หนอนของหิ่งห้อยเป็นตัวห้ำกินหอยฝาเดียว ไส้เดือน  กิ้งกือ และแมลงตัวเล็กๆเป็นอาหาร หิ่งห้อยมีลักษณะเด่น คือสามารถทำแสงได้ทั้งระยะหนอนดักแด้ แลตัวเต็มวัย ส่วนระยะไข่ทำแสงได้เฉพาะบางชนิดเท่านั้น

ทำไมหิงห้อยจึงมีแสง
               หิ่งห้อยมีแสงในตัวเพราะมีสารพิเศษ แสงของหิ่งห้อยเกิดจากปฏิกิริยาทางเคมีของสาร Luciferin ซึ่งอยู่ในอวัยวะทำแสง ทำปฏิกิริยาโดยใช้หลอดลม มีเอนไซม์ Luciferase เป็นตัวกระตุ้นและมีสาร Andenosine triphosphate (ATP) เป็นตัวให้พลังงาน สำหรับเรื่องความสวนงามของการกระพริบแสงตัวผู้จะสวยกว่าเพราะต้องล่อตัวเมียมาผสมพันธุ์ 
  
ทำไมแสงหิ่งห้อยจึงกะพริบ
              เมื่อหิ่งห้อยหนุ่มพบหิ่งห้อยสาวที่หมายปอง มันก็จะกระพริบแสงเป็นจังหวะของมัน ถ้าหิ่งห้อยสาวพอใจก็จะกระพริบตอบด้วยจังหวะเดียวกัน จากนั้นทั้งสองก็ผสมพันธ์ เมื่อหิ่งห้อยสาวตั้งท้องและวางไข่มันก็จะตายจากไปแสงของหิ่งห้อยเกิดจากสาร เรืองแสงในตัวของมัน ซึ่งเปล่งออกมาบริเวณปลายปล้องท้อง และในอดีตคนเรายังใช้แสงหิ่งห้อยเป็นเครื่องนำทางสร้างความสวยงามให้กับธรรมชาติในยามค่ำคืน


ภาพจาก : http://topicstock.pantip.com/camera/topicstock/2011/08/O10887813/O10887813-0.jpg


วงจรชีวิตของหิงห้อย   
วงจรชีวิตแสนสั้น แบ่งออกเป็น 4 ระยะดังนี้
        1. เมื่อผสมพันธุ์กันแล้ว หิ่งห้อยตัวเมียจะวางไข่บนพื้นดิน กิ่งไม้ หรือใบหญ้า เป็นจำนวนหลายร้อยฟอง ตั้งแต่ช่วงเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม ใช้ระยะเวลาประมาณ 1-4 สัปดาห์จึง ฟักเป็นตัวหนอน หลังจากนั้น หิ่งห้อยตัวเมียจะไม่ย้อนกลับมาดูไข่ของมันอีกเลย
    2. หนอนหิ่งห้อยจะอยู่ในร่างหนอน ประมาณ 6-12 เดือน นับเป็นช่วงเวลาที่นานที่สุดในชีวิตหิ่งห้อย
          3. หนอนหิ่งห้อยจึงเปลี่ยนเป็นดักแด้และฝังตัวอยู่ใต้ดิน รอจนกว่าจะมีปีกงอกออกมา ใช้ระยะเวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์
          4. หิ่งห้อยโตเต็มวัย จะไม่กินอาหารใด ๆ เลยนอกจากน้ำค้างบนใบหญ้า ใช้ระยะเวลาประมาณ 1 เดือนก่อนจะตายไป



ภาพจากhttp://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=74552


หิงห้อยในสมัยนี้คงหาได้ยากแล้ว เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติได้หายไปเรื่อยๆ ตามพื้นที่ชนบทต่างๆ  อาจจะได้เห็นหิงห้อยได้บ้าง  แต่ก็น้อยลงที่ที ถ้าให้นึกถึงความหลังยังเด็กตามชนบท ตอนกลางคืนเดือนมืดคงเห็นหิงห้อยที่บินไปมาเต็มไปหมด  บรรยากาศที่ลมพัดเย็นๆ เต็มไปด้วยความผ่อนคลายจะเลื่อนหายไปในความทรงจำของใครหลายคน มันเป็นความทรงจำที่ดี และมันจะเป็นไปได้ที่ได้ชมบรรยากาศเหล่านี้อีก  หากเราช่วยกันรักษาธรรมชาติให้คงอยู่ไว้ได้

ภาพจาก :  http://hilight.kapook.com/view/65168


อ้างอิง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น