วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

บทความ เรื่อง โหระพา

           โหระพาผักสวนครัวที่คนไทยคุ้นเคยกันดี นำใบโหระพามาปรุงอาหารสำหรับคนไทยได้หลากหลายอย่าง เราจะมารู้จักกับโหระพากันเลย

            ลักษณะของต้นโหระพา

ภาพจาก  :  http://heatherhomemade.com/wp-content/uploads/2011/09/Basil-Beef-4.jpg

โหระพา  เป็นไม้ล้มลุก สูง 0.5-1 เมตร ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยมมีกิ่งอ่อนสีม่วงแดง ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้าม รูปไข่หรือรูปรีกว้าง 3 - 4 เซนติเมตร ยาว 4 - 6 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนมน ขอบจักเป็นฟันเลื่อยห่างๆ ดอกสีขาวหรือชมพูอ่อน ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งยาว 7 - 12 เซนติเมตร ใบประดับสีเขียวอมม่วงจะคงอยู่เมื่อเป็นผล

วิธีการปลูกต้นโหระพา
ควรกระทำในตอนเย็น วิธีการปลูกที่นิยมมี 2 วิธีด้วยกัน คือ
การเพาะกล้าย้ายปลูก โดยการหว่านเมล็ดให้กระจายทั่วแปลงแล้วใช้แกลบสด แกลบเผาหรือฟาง หว่านหรือคลุมบางๆ แล้วรดน้ำตามทันที หลังจากนั้น รดน้ำทุกวันเช้าและเย็น จนกระทั่งเมื่ออายุได้ 20-25 วัน จึงทำการย้ายปลูก โดยการถอนกล้าแล้วเด็ดยอดนำไปปลูกในแปลง โดยใช้ระยะปลูก 20×20 เซนติเมตร เมื่อถอนกล้าออกจากแปลงแล้วจะต้องปลูกให้เสร็จภายในวันเดียวกัน หลังจากปลูกเสร็จควรหาฟางหรือหญ้าแห้งมาคลุมเพื่อเก็บความชื้นและรดน้ำตามทันที
การปักชำ โดยตัดกิ่งที่โตเต็มที่ยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร แล้วปลิดใบออกให้หมดนำไปปักชำในแปลง ใช้หญ้าแห้งหรือฟางแห้งสะอาดคลุมให้ทั่วแปลง และรดน้ำตามทันที ( การปักชำจะเหมาะแก่การปลูกเป็นผักสวนครัว  ตามบ้านเรือนต่างๆ )

การปฏิบัติดูแลรักษาโหระพา   :      การดูแลต้นโหระพาตามบ้านเรือน
โหระพาเป็นพืชที่ต้องการความชื้นสูงและสม่ำเสมอ ดังนั้นจึงควรมีการรดน้ำให้ทุกวัน แต่ระวังอย่าปล่อยให้มีการท่วมขังของน้ำในแปลง ในระยะแรกควรทำการพรวนดินและกำจัดพืชทุกๆ 1-2 สัปดาห์ โดยการใช้มือถอนจอบหรือเสียมดายหญ้าออกและควรทำด้วยความระมัดระวังอย่าให้กระทบต่อต้นและราก และ  โหรระพาเป็นพืชที่ดูแลรักษาง่ายเนื่องจากไม่ค่อยมีแมลงกัดกิน

ประโยชน์ของใบโหระพา
                นอกจากโหระพาเป็นพืชสวนครัวแล้ว  โหระพายังมีประโยชน์เป็นสมุนไพรได้อีกด้วย
                1. แก้ไข้ ปวดศีรษะ ขับเหงื่อ ขับลม ขับเสมหะ ขับพยาธิ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเสีย ช่วยเจริญอาหาร โดยใช้ยอดอ่อนต้มกับน้ำรับประทานเป็นชาหรือรับประทานเป็นผักสด
                2. ใช้เป็นยาขับปัสสาวะและยาระบายอ่อน ๆ เพื่อแก้อาการท้องผูก โดยนำเมล็ดแก่แช่น้ำให้พองตัวเต็มที่รับประทานกับขนมหวานโดยผสมกับน้ำหวานและน้ำแข็ง
                3. ใช้รักษาอาการเหงือกอักเสบเป็นหนอง โดยบดใบโหระพาแห้งให้เป็นผงทาบริเวณที่เป็น
                4. บรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน โดยคั้นน้ำจากใบโหระพาสด ประมาณ 1ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำอ้อย 2ช้อน รับประทานวันละ 2 ครั้ง พร้อมกับน้ำอุ่น
                5. แก้สะอึก โดยใช้ใบโหระพาสดหรือแห้งพร้อมขิงสดแช่ในน้ำเดือดรับประทานในขณะที่น้ำยังร้อน
                6. น้ำมันโหระพาสามารถฆ่ายุงและแมลงได้
                7. เมล็ดแก่แช่น้ำใช้พอกแผลบรรเทาอาการฟกช้ำ
ภาพจาก : http://www.happyhospital.org/autopagev4/spaw2/uploads/images/horapa.jpg

   น้ำมันโหระพา
                น้ำมันโหระพา เป็นน้ำมันหอมระเหยที่พบในใบโหระพามีร้อยละ 1.5 องค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญ คือ Methylcha vicol และสกัดได้จากใบโหระพาพันธุ์ไทย โดยการกลั่นด้วยไอน้ำ เป็นของเหลวใสสีเหลืองอ่อน หรือเหลืองอมน้ำตาลปราศจากตะกอนและสารแขวนลอย ไม่มีการแยกชั้นของน้ำ มีกลิ่นเฉพาะตัว มีคุณสมบัติแก้จุกเสียดแน่นท้อง
                น้ำมันหอมระเหยช่วยการย่อยอาหารเนื้อสัตว์ ช่วยคลายการหดเกร็งของกล้ามเนื้อและช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย จึงช่วยให้สบายท้องขึ้น มีกลิ่นหอมหวาน มีคุณสมบัติช่วยให้สงบ มีสมาธิ ลดอาการซึมเศร้า ข้อควรระวังในการใช้คือ ทำให้เกิดอาการแพ้ง่าย สตรีมีครรภ์ควรหลีกเลี่ยง


ภาพจาก :  http://www.siamhealthandbeauty.com/images/VersatileOil.jpg



อ้างอิง





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น